คุณธรรมเเละสติปัญญา

เธอทั้งหลาย…
เคยมีอำมาตย์ท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า “จงให้ความสำคัญกับคุณธรรม มากกว่าความล้ำเลิศทางสติปัญญา” เพราะคุณธรรมจำทำให้เธอไม่เห็นเเก่ตัว เเละอยากให้ความช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ เเต่การมีสติปัญญาที่เลอเลิศ ทว่าไร้คุณธรรม มักสร้างเธอให้กลายเป็นคนลุ่มหลง ในผลประโยชน์เเห่งตน เเละล่วงล้ำเข้าสู่เส้นทางที่ชั่วร้ายได้โดยง่าย
จงช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเห็นว่าเขาได้รับความเดือดร้อนเถิด เเม้การลงเเรงครั้งนี้ เธอจะไม่ได้รับอะไรเป็นการตอบเเทนเลย เเต่ขอให้มั่นใจเถิดว่า ตัวเธอจะพบเเต่ความสุขความเจริญ เเละมีเเต่คนที่พร้อใมห้การช่วยเหลือเธอ ในทุกๆที่เช่นเดียวกัน
จากหนังสือ นิทานสีขาว โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
ประจำวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔

ความกล้าหาญ

เธอทั้งหลาย…
จงละทิ้งความกลัวเเละหมั่นเติมความกล้าหาญให้กับตนเองอยู่เสมอ ขอให้เธอเผชิญหน้ากับทุกสิ่งที่เข้ามาบั่นทอนความสุขในชีวิตของเธออย่างมุ่งมั่น เเล้วความกล้าหาญนั้น จะนำไปพบกับสิ่งดีๆ ที่เธอไขว่คว้าหามาตลอดชีวิต
จากหนังสือ นิทานสีขาว โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
ประจำวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔

หัวใจที่ไร้อคติ

เธอทั้งหลาย…
จงเปิดตาตนเองให้กว้าง เเล้วมองสิ่งต่างๆรอบตัว ด้วยสายตาเเละหัวใจที่ไร้อคติ หากเธอปิดกั้นหัวใจเเละสายตาของเธอไว้ เธอก็อาจจะพลาดสิ่งดีๆ ในชีวิตไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งบางครั้งสิ่งดีๆเหล่านั้น ก็อาจจะไม่หวนกลับมาหาเธออีกครั้ง
จากหนังสือ นิทานสีขาว โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
ประจำวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔

ผู้รู้

เธอทั้งหลาย…
การเป็นผู้มีความรู้มากนั้นมิใช่สิ่งที่ไม่ดีหรอก ตรงกันข้าม เธอเองควรที่จะหมั่นศึกษาหาความรู้ต่างๆ มาประดับตนเองไว้เสมอ เเต่อย่ารู้วิชามากจนลืมไปว่าคุณค่าเเห่งความดีนั้นเป็นอย่างไร เพราะนั่นไม่มีประโยชน์ เเละเสียเวลาขวนขวายหาความรู้ไปเปล่าๆ
เธอควรจะมีความรู้ควบคู่ไปกับคุณธรรมเเละความดี ความรู้ของเธอจึงจะเกิดผลสูงสุด ทั้งเเก่ผู้อื่นเเละตัวเธอเอง ซึ่งนั่นจะทำให้เธอรู้ซึ้งถึงคุณค่าในตัวเองมากขึ้น เเละกลายเป็นที่ต้อนรับของผู้คนในทุกหนเเห่ง ที่เธอย่างก้าวไปถึง
จากหนังสือ นิทานสีขาว โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
ประจำวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔

ผู้สูงส่ง

เธอทั้งหลาย…
จงอย่าดูเเคลนว่าผู้อื่นนั้นต้อยต่ำ เเล้วทะนงตนเองว่าสูงส่งกว่า เพียงเพราะเห็นว่า ตัวเองมั่งมีเเละสุขสบายกว่าเขา เพราะนั่นเป็นเพียงเปลือกนอกที่ฉาบฉวยเกินกว่าจะเอามาตัดสินคุณค่าชีวิตของใครคนใหคนหนึ่งได้
รู้ไว้เถิดว่าสำหรับคนที่สูงส่งจริงๆเเล้ว เขามักจะอยู่อย่างเจียมตน เเละไม่โอ้อวดว่าตนเองอยู่เหนือกว่าผู้อื่น เนื่องจากคนสูงส่งที่เเท้จริงย่อมทำตนเองให้มีคุณค่ามากพอ จนเกิดความรู้สึกอิ่มเอมในชีวิต เเละไม่จะเป็นต้องยกตนเพื่อไปเปรียบเทียบ หรือคุกคามข่มเหงใครๆ เพียงเพราะต้องการให้ตนเองดูยิ่งใหญ่กว่าผู้อื่น เพราะคนที่ทำเช่นนี้ไม่ใช่คนสูงส่งอะไร
“เเต่เป็นคนต่ำต้อยที่อยากให้ใครๆรู้ว่าตนเองสูงส่งเท่านั้น!!”
จากหนังสือ นิทานสีขาว โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
ประจำวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔

รากฐานเเห่งชีวิต

เธอทั้งหลาย…
คนเราทุกคน ล้วนเกิดมาบนรากฐานที่ต่างกัน นอกจากนั้นเมื่อโตขึ้น เราทุกคนก็ยังมีชีวิตที่เเตกต่างกันไปด้วย ไม่มีใครที่มีอะไรที่เหมือนกันได้ทุกอย่างหรอก เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เธอจะไม่เท่าใครเขา เเละเขาก็อาจมีบางอย่างที่ไม่เหมือนเธอ… เเต่นั่นเเหล่ะคือความหมายของชีวิต ความเเตกต่างนั่นเองคือความสวยงามที่ทำให้โลกของเรามีสีสัน ด้วยจังหวะชีวิตของผู้คนที่เเตกต่างกันไป เพื่อให้ทุกคนมีหน้าที่ ตามรูปเเบบชีวิตของเเต่ละคน
ถ้าเธอคิดได้เช่นที่กล่าวมา เธอจะเป็นคนที่มีความสุข เพราะสามารถใช้ชีวิตของตนเองตามครรลองที่ควรจะเป็น เเต่หากเธอไม่รู้สึกพอใจในตนเอง ไม่เพียรพยายามใช้วิธีสุจริตที่ทำให้ตนเองได้พบกับสิ่งที่ดีกว่า มัวเสียเวลาไปกับการริษยาทำร้ายคนอื่น ท้ายที่สุดเเล้ว ชีวิตเธอก็จะมีจุดจบ คือ ไม่มีความสุข ขาดมิตรเเท้ ไร้ความรัก เเละต้องสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างไปในที่สุด
เราไม่จำเป็นต้องอยู่อย่างคนมั่งมีหรอก เเต่เราจำเป็นต้องอยู่อย่างคนที่มีความสุข เพราะฉะนั้นอย่าได้คิดริษยาใคร ความริษยาจะทำให้เธอเสียความสุขไปทันทีที่เธอคิดริษยาผู้อื่น เชื่อเถอะว่า…ชีวิตคนเราไม่ยืนยาวนักดอก วันนี้เธอยังอยู่ พรุ่งนี้เธออาจจะไม่อยู่เเล้วก็ได้ เเละในเมื่อชีวิตมันสั้นเพียงเท่านี้ เธอจะทำให้ชีวิตของตนเองลิ้มรสความสุขน้อยลงอีกทำไม…
จากหนังสือ นิทานสีขาว โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
ประจำวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔

ผู้นำ

เธอทั้งหลาย…
การเป็นผู้นำนั้น อาศัยเพียงอำนาจความยิ่งใหญ่เพียงอย่างเดียว ไม่อาจทำให้เธอเป็นผู้นำที่ครองใจใครได้ถาวรดอก เธอต้องจักมีคุณธรรมอื่นประกอบด้วย เเล้วคนในปกครองจะให้การสนับสนุนเธอเต็มเเรงกาย เเรงใจของเขา งานของเธอก็จักสำเร็จลุล่วงอย่างมีคุณภาพ นอกจากนั้นเธอก็จะเป็นผู้นำซึ่งเป็นที่ต้องการของใครต่อใครอยู่เสมอ มิใช่บุคคลที่พรั่งพร้อมไปด้วยอำนาจน่าเกรงขาม เเต่ผู้คนต่างพากันเบือนหน้าหนี เเละสาปเเช่งเมื่อลับหลัง
บางครั้งเธออาจเห็นว่า คนบางคนช่างดูเหมือนไม่มีความสามารถอะไรเลยในตัว เธอจึงไม่เคยเคารพเขา เเต่คนอ่อนน้อมบางคน เขาไม่นิยมเเสดงความสามารถของตนเพื่อโอ้อวดใครๆหรอก เขาจะนิ่งเงียบไม่เเสดงอาการ เเละคอยมองสิ่งรอบๆตัว อย่างใช้ปัญญาอยู่เสมอ เเต่เมื่อเธอมีความเดือดร้อนอันใด เขาอาจจะเป็นคนที่หยิบยื่นความช่วยเหลือให้เธอได้ดีกว่าใครๆ ก็ได้ ฉะนั้น!! จงอย่าดูถูกผู้อื่นด้วยการพิจารณาอย่างฉาบฉวย เเล้วคิดว่าเขาไม่มีอะไรดี เเต่จงมองทะลุไปถึงข้างในจิตใจ มองถึงเหตุผลของเขา เเล้วเธอจักเข้าใจว่า ใครคือคนที่เธอควรให้ความเคารพนับถือมากที่สุด
จากหนังสือ นิทานสีขาว โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
ประจำวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔

การคิดแบบนักบริหาร

การคิดแบบนักบริหาร
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา

ความคิดคืออะไร
ความคิดเป็นผลจากการทำงานของสมองในการก่อรูป (Formulate) บางสิ่งบางอย่างขึ้นในมโนคติ (mind) ผ่านการทำงานของระบบการรับรู้ทางจิต (cognitive system) โดยในส่วนของความคิดจะทำหน้าที่แยกแยะการกระทำและความรู้สึกผ่านกระบวนการทางความคิดอันจะนำไปสู่พฤติกรรมที่ตอบสนองสถานการณ์นั้น การคิดเป็นเรี่องที่สำคัญ การคิดไม่เหมือนกัน การคิดแบบจินตนาการ การคิดหวนรำลึกถึง การคิดใช้เหตุผล และการคิดแก้ปัญหา

การคิดเกี่ยวข้องกับผู้บริหารอย่างไร
· การคิดเกี่ยวข้องกับความอยู่รอด ทำให้คนอยากคิด เพื่อความอยู่รอดก็จะเริ่มคิดอะไรออกมา
หากไม่มีก็เป็นเรื่องยากที่จะอยู่รอด
· ความต้องการสิ่งแปลกใหม่ กระตุ้นให้คิด คนอยากคิดก็คือไม่อยากยึดติดของเดิม ๆ พยายาม หารูปแบบใหม่ ๆ นักคิดก็คือ กบฏตัวน้อย มีใครคิดทฤษฎีใหม่ที่ไม่คิดกบฏต่อทฤษฎีเดิม ไม่พอใจของเดิมแต่หาดีกว่าจึงจะกล้าคิด หากเราบอกตัวเองว่า เขาเป็นข้าราชการที่เสียแล้ว หากเราไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงในขณะที่รุ่นพี่ของเราเป็นอย่างนี้เราต้องนำการเปลี่ยนแปลงที่ดีมาสู่เรา
· ความสงสัย กระตุ้นให้คิด สร้างให้เกิดความรู้ ความอยากรู้อยากเห็น บางครั้งเด็กอยากรู้อยากเห็น แต่คนที่เป็นพ่อเป็นแม่ตอบว่า ถามอยู่ได้อย่างนี้ตัดความคิดเห็น พ่อแม่ต้องเป็นผู้สร้างการอยากรู้อยากเห็น
· สภาพปัญหา กระตุ้นให้คิด ปัญหาทำให้เราคิดสารพัด เราต้องหาวิธีออก วิธีคิด การที่เราพบปัญหานั้นทำให้เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ การทำงานไม่ทำให้ออกมาเป็นรูปแบบเดิม ๆ ยุคนี้เป็นยุคที่ทำให้เกิดวิธีการคิดโดยมีวิธีการคิด 10 มิติ การคิด 10 มิติ เกิดจากการประชุมระดับชาติ เป็นการสอนให้คนเกิดการคิด นอกกรอบ

*ถอดเทปการบรรยายและเรียบเรียงจากการบรรยายหลักสูตรนายอำเภอรุ่นที่ 56 เมื่อวันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม 2547 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ โรงเรียนนายอำเภอ วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

วิธีคิดแบบผู้บริหารผ่านการคิด 10 มิติ
1. การคิดเชิงกลยุทธ์
2. การคิดเชิงอนาคต
3. การคิดเชิงสร้างสรรค์
4. การคิดเชิงวิพากษ์
5. การคิดเชิงบูรณาการ
6. การคิดเชิงวิเคราะห์
7. การคิดเชิงเปรียบเทียบ
8. การคิดเชิงสังเคราะห์
9. การคิดเชิงมโนทัศน์
10. การคิดเชิงประยุกต์

1. การคิดเชิงกลยุทธ์
การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นเรื่องที่จำเป็น จริง ๆแล้วความคิดทั้ง 10 มิติ เป็นการใช้ตลอดเวลา และจำเป็นต้องใช้ในอนาคต สำหรับอันดับแรกเป็นการคิดเชิงกลยุทธ์ ผู้บริหารเป็นคนชี้ขาด คือ คนที่นำในองค์กร คนแรกที่ต้องพบปัญหา คนแรกที่ตัดสินว่าจะไปซ้ายหรือไปขวา ฉะนั้นการคิดเชิงกลยุทธ์เปลี่ยนมาก สถานการณ์เปลี่ยนตลอดเวลา และมีทรัพยากรจำกัด บุคลากรก็มีจำกัด สถานการณ์ปัจจุบันไม่สามารถแก้ปัญหาตามเคยชินได้ ฉะนั้นการคิดเชิงกลยุทธ์จึงมีความจำเป็นสำหรับผู้บริหารมากในการเผชิญปัญหาต่าง ๆ ในการวางแผน การบริหารจัดการ การกำหนดว่าจะทำอะไรก่อนหลัง นักวิชาการด้านการบริหารบอกว่า การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นการวางแผนเพื่ออนาคตเพื่อการตัดสินใจในอนาคต มี 2 วิธีที่จะเผชิญในอนาคต วิธีหนึ่งที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น เดินไปเรื่อย ๆ ชีวิตนี้ปล่อยไปตามเวรตามกรรม ตามสภาวะแวดล้อม ตายเอาดาบหน้า อีกวิธีหนึ่ง คือ แน่นอนท่านไม่สามารถรู้อนาคตได้ เราคิดไปก่อนแล้วเราวางแผนไว้ แต่สิ่งนั้นเกิดขึ้นและต้องตัดสินใจ ณ วันนี้ นักวิชาการอีกคนหนึ่งนายไมเคิลบอกว่า ขบวนการคิดเชิงกลยุทธ์ เป็นการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยการจัดสรรทรัพยากรตั้งแต่วันนี้ เพราะฉะนั้นผู้บริหารต้องกำหนดแนวทางที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรที่จำกัด ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง บริหารงบประมาณ บริหารบุคลากรให้บรรลุเป้าหมาย การจะให้บรรลุตามเป้าหมายต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม การประเมินความได้เปรียบและเสียเปรียบของสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นและการคาดการณ์ของอนาคต การเลือกกลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญมากในการประสบความสำเร็จ หลักการคิดเชิงกลยุทธ์มีดังนี้
ขั้นที่หนึ่ง กำหนดเป้าหมายที่ต้องการจะไปให้ถึง
ขั้นที่สอง วิเคราะห์และประเมินสถานะ
ขั้นที่สาม การหาทางเลือกกลยุทธ์
ขั้นที่สี่ การวางแผนปฏิบัติการ
ขั้นที่ห้า การวางแผนคู่ขนาน
ขั้นที่หก การทดสอบในสถานการณ์จำลอง
ขั้นที่เจ็ด การลงมือปฏิบัติการ
ขั้นที่แปด การประเมินผล

การคิดเชิงอนาคต
มีประโยชน์มากและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการคาดการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม การคิดเชิงอนาคตมีหลายวิธี แต่ใช้วิธีที่เหมาะสมและประกอบด้วย 6 หลักดังนี้คือ
หลักการมองอย่างองค์รวม (Holistic Approach) ต้องมองทุกด้านที่เกี่ยวข้องกัน
หลักความต่อเนื่อง (Continuity) การคาดการณ์ในอนาคตต้องคาดการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กัน
หลักความสัมพันธ์เชิงเหตุผล(Causal Relationship) การคิดเชิงอนาคตไม่ใช่เป็นการคิดแบบเดาสุ่ม แต่เป็นหลักของความคิดแบบมีความสัมพันธ์อย่างมีเหตุผลได้
หลักการอุปมา(Analogy) โดยยึดหลักว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่าง ๆในโลกนี้ล้วนมีแบบแผน ล้วนดำเนินไปอย่างมีระบบ เหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นก็มักจะเกิดเหตุการณ์อื่นตามมาด้วย
หลักการจินตนาการ(Imagination) การใช้จินตนาการเป็นการที่ทำให้การวาดภาพได้ในอนาคตเป็นการท้าท้าย การจะใช้หลักจินตนาการเราต้องใช้หลักเหตุผล เพื่อที่จะให้การจินตนาการไม่ไร้หลักการ
หลักดุลยภาพ (Equilibrium) เป็นหลักการที่บอกว่าในโลกแห่งความเป็นจริง ต้องปรับเข้าหาส่วนดีเสมอ หากมีการเสียสมดุลย์เกิดขึ้นระบบก็จะพยายามปรับให้เกิดความสมดุลย์แก่ตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความสมดุลย์ทางด้านเศรษฐกิจ ความสมดุลย์ในร่างกายของเราเอง
3. การคิดเชิงสร้างสรรค์
ผู้บริหารมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการคิดเชิงสร้างสรรค์ โจทย์ไม่เหมือนเดิม คำตอบไม่เหมือนเดิม วิธีตอบคำถามคือไม่เหมือนเดิม จึงมีความแปลกใหม่ ต้องการนวัตกรรมในการตอบคำถาม ในการบริหารงานต่าง ๆถูกบังคับให้เราต้องเอาชนะสิ่งต่าง ๆด้วยวิธีการใหม่ ๆการคิดเชิงสร้างสรรค์ไปสู่ความคิดใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนสามารถทำให้เราค้นหาคำตอบที่ดีที่สุด และอีกอย่างการคิดเชิงสร้างสรรค์เป็นการฝ่าวงล้อมในการคิดเล็ก ๆ หรือการแวกม่านความคิดต่าง ๆออกไปเพื่อค้นพบในการแก้ปัญหาใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ใครคิดก่อนได้เปรียบ หลักการคิดสร้างสรรค์ได้แก่
1. ฝึกถามคำถามที่กระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ ๆ
2. อย่าละทิ้งความคิดใด ๆจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไร้ประโยชน์
3. การพัฒนาเทคนิคช่วยคิดสร้างสรรค์
วงการโฆษณามักจะใช้ขอบเขตทั้ง 3 ข้อดังกล่าว
4. การคิดเชิงวิพากษ์
หมายถึง ความตั้งใจพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนอ ไม่ด่วนสรุปการเห็นคล้อยตาม เป็นการตั้งคำถามท้าท้ายหรือโต้แย้งสมมุติฐานที่อยู่เบื้องหลัง พยายามเปิดกว้างทางความคิดออกสู่ความแตกต่างในด้านต่าง ๆมากขึ้นให้ได้ประโยชน์มากกว่าเดิม หลักการคิดเชิงวิพากษ์ได้แก่
หลักที่ 1 ให้สงสัยไว้ก่อน…………….อย่าเพิ่งเชื่อ
หลักที่ 2 เผื่อใจไว้……………อาจจะจริงหรืออาจจะไม่จริงก็ได้
หลักที่ 3 เป็นพยานฝ่ายมาร…………ตั้งคำถามซักค้าน

5. การคิดเชิงบูรณาการ
ผู้บริหารต้องคิดแก้ปัญหาในเชิงบูรณาการ ผู้บริหารต้องคิดไม่แยกส่วน ต้องคิดแบบแกนหลักได้อย่างเหมาะสม ครบถ้วนทุกมุมมอง ไม่แยกส่วนในการแก้ปัญหา หลักการคิดเชิงบูรณาการได้แก่
1. ตั้ง “แกนหลัก”
2. หาความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับแกนหลัก
3. วิพากษ์เพื่อให้เกิดการบูรณาการครบถ้วน
6. การคิดเชิงวิเคราะห์
ผู้บริหารมีความจำเป็นในการคิดเชิงวิเคราะห์ เช่นการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน เพื่อจำแนกอุปกรณ์ของจุดใดจุดหนึ่งแล้วค้นหาสิ่งที่แท้จริงที่เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมมีที่มาที่ไป มีเหตุมีผลย่อมมีองค์ประกอบย่อย ๆที่ซ่อนอยู่ด้วย และองค์ประกอบนั้นมีความสอดคล้องหรือตรงข้ามกันกับสิ่งที่ปรากฏภายนอกหรือเปล่า หลักการคิดเชิงวิเคราะห์ประกอบด้วย
1. หาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของข้อมูลที่ได้รับ
2. ใช้หลักการตั้งคำถาม
3. ใช้หลักการแยกแยะความจริง เช่น
แยกแยะระหว่าง ความจริง (truth) กับความเชื่อ (belief)
แยกแยะโดยจำกฎขั้วตรงข้าม (the principle of contradiction)
แยกแยะระหว่างข้อเท็จจริง (facts) กับข้อคิดเห็น (opinions)
7. การคิดเชิงเปรียบเทียบ
การคิดเชิงเปรียบเทียบมีประโยชน์มากสำหรับผู้บริหาร 3 ด้านคือ
1. คิดเปรียบเทียบใช้วิเคราะห์
2. คิดเปรียบเทียบใช้อธิบาย
3. คิดเปรียบเทียบเพื่อแก้ปัญหา
การคิดเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์กับเหตุการณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกันเพื่อให้เราลดความผิดพลาด เช่น สมมุติมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นแต่ยังไม่ชัดเจนอาจไม่สามารถวิเคราะห์ได้หรือตัดสินใจได้ ก็นำมาเปรียบเทียบมาวิเคราะห์ได้ว่าเหตุการณ์ไหนดีเหตุการณ์ไหนไม่ดี การคิดเปรียบเทียบเพื่อแก้ปัญหาเป็นการจุดประกายความคิดและการสร้างสรรใหม่ ๆ หลักการคิดเชิงเปรียบเทียบได้แก่
1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการเปรียบเทียบ
2. กำหนดเกณฑ์ (criteria) การเปรียบเทียบ
3. แจกแจงรายละเอียดของแต่ละเกณฑ์
4. เปรียบเทียบและตอบวัตถุประสงค์

8. การคิดเชิงสังเคราะห์
เป็นความสามารถขององค์ประกอบต่าง ๆแล้วนำมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ตามความประสงค์ที่เราต้องการ ในคำตอบจะตอบได้หลาย ๆอย่าง นำข้อดีของแต่ละอันมาสังเคราะห์เพื่อเป็นวิธีใหม่ที่นำมาใช้ในหน่วยงานของเราได้เลย เช่น การสังเคราะห์ช่วยให้เราไม่ต้องคิดสิ่งต่าง ๆจากสูตร หากเราไม่รู้ประโยชน์จากความคิดของคนรุ่นเก่าแทบจะไม่มีอะไรที่ยากที่ทำไม่ได้ ทุกอย่างมักจะมีแง่มุมที่ทำไว้แล้ว แต่เราใช้แรงสักหน่อย นำมาศึกษา นำมาสังเคราะห์ ดูจากเรื่องเดียวกันว่ามีปัญหาเคยเกิดไหม
การคิดจากเชิงสังเคราะห์เริ่มต้นจากการตั้งคำถามว่า มีอะไรที่เกี่ยวกับเรื่องการสังเคราะห์นำเอาสิ่งนั้นมาแยกแยะออกจากกัน ที่นำมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน การกำหนดลักษณะและขอบเขตข้อมูลที่จะนำมาสังเคราะห์เป็นเรื่องสำคัญ เช่น การเลือกเฉพาะข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ โดยเลือกขอบเขตที่ชัดเจน

9. การคิดเชิงมโนทัศน์
หมายถึง การประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเข้าด้วยกันโดยไม่ขัดแย้ง การคิดเชิงมโนทัศน์เป็นการมอบภาพต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกันให้เป็นภาพที่คมชัด กระชับสามารถอธิบายได้ เป็นการคิดรวบยอด สร้างกรอบความคิดให้ชัดเจน สามารถถ่ายทอดออกไปได้ การที่เราต้องเรียนรู้เชิงมโนทัศน์นั้นเพราะว่า กรอบความคิดเรื่องประสบการณ์และความรู้ ฉะนั้นการปรับมโนทัศน์ของเราและสร้างมโนทัศน์ใหม่จะเป็นเรื่องสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น คำว่า “นายอำเภอ” นั้น เบื้องหลังสะท้อนถึงโครงสร้างการบริหารงาน สะท้อนถึงหน้าที่ บุคลิก บทบาทของขอบข่ายงาน เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างถูกมาเรียงไว้ แล้วคิดออกมาเป็นมโนทัศน์ เช่น มโนทัศน์เรื่องของยาเสพติด เมื่อก่อนเรามีมโนทัศน์หมายถึง เสพแล้วติดให้โทษ แต่ปัจจุบัน ยาเสพติดที่ขายตามท้องตลาดซื้อได้ตามร้านขายยาด้วย ที่กินแล้วอาจไม่ได้ให้โทษมากมาย วิธีการสร้างมโนทัศน์ประกอบด้วย
1. การเป็นนักสังเกต
2. การตีความ
3. การเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลที่ได้รับมากับกรอบความคิดเดิม
ก. สามารถเปรียบเทียบความแตกต่าง/เหมือนกันในรายละเอียด
ข. สามารถแยกมโนทัศน์หลัก – มโนทัศน์ย่อยได้
4. การปรับกรอบมโนทัศน์ใหม่
ก. การปรับกรอบเพิ่มในรายละเอียดมากขึ้น
ข. การขยายกรอบความคิดออกไปแนวข้างมากขึ้น
5. การรับกรอบความคิดใหม่เข้ามาทั้งหมด
6. การสร้างมโนทัศน์ใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

10. การคิดเชิงประยุกต์
หมายถึง ความสามารถที่มีอยู่เดิมมาปรับใช้ในบริบทใหม่ คล้าย ๆกับนำต้นไม้ เช่น นำต้นยางจากภาคใต้ไปปลูกภาคเหนือ ภาคอีสาน ต้นยางไม่เปลี่ยนแปลงแต่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเป็นเหมือนว่าเรานำกรอบ วิธีการหรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆที่มีอยู่นั้น นำมาประยุกต์พวกนี้เกิดจากการคิดว่า เหล่านี้นำมาประยุกต์ใช้ได้ไหม เกิดผลดีผลเสียอย่างไร นำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ที่เราเผชิญอยู่ หลักการคิดเชิงประยุกต์ประกอบด้วย
1. ใช้หลักการทดแทนคุณสมบัติหลัก
2. ใช้หลักปรับสิ่งเดิมให้เข้ากับสถานการณ์
3. ใช้หลักการหาสิ่งทดแทน
การคิด 10 มิติ นำมาจากหนังสือการคิดเชิงเปรียบเทียบ จำนวน 10 เล่ม สามารถอ่านจากหนังสือเพิ่มเติมได้ หากทุกคนรู้จักวิธีการคิดและรู้จักพัฒนาความคิดทั้ง 10 มิติ ก็จะเป็นประโยชน์และเป็นพื้นฐานสำหรับนักบริหารให้รู้จักคิด รู้จักไตร่ตรอง หาวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมหรือรู้จักดำเนินชีวิตอย่างมีกลยุทธ์ ทำให้ไม่เผชิญสถานการณ์แบบหนัก ๆ
**********************************
ถอดเทปการบรรยาย/เรียบเรียง/พิมพ์โดย
นางพรรณธิภา ธนสันติ นพบ. 6
วิทยาลัยการปกครอง

ภาษาอังกฤษ สุดเซ็กซี่!!

ซีเอ็นเอ็นโก จัดอันดับประเทศที่พูดสำเนียงภาษาอังกฤษได้เซ็กซี่ที่สุดในโลก ไทยติดอันดับ 11 เนื่องจากการเปล่งเสียงวรรณยุกต์ 5 ลำดับช่วย ส่วนอิตาลีครองแชมป์เพราะดูโรแมนติกสุด

เว็บไซต์ซีเอ็นเอ็นโก ของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น จัดอันดับประเทศที่พูดสำเนียงภาษาอังกฤษได้เซ็กซี่ที่สุดในโลก ผลปรากฏว่า ประเทศไทยได้อันดับที่ 11 เนื่องจากเสียงที่เปล่งออกมา มีลักษณะเหมือนเพลงยั่วยวน อันเป็นผลจากการมีวรรณยุกต์ 5 ลำดับ โดยยกตัวอย่างวิธีการพูดของ “ทาทา ยัง” และ “จา พนม”

ส่วนประเทศอันดับ 1 คือ อิตาลี ที่มีความดิบและโรแมนติกแบบยุคเรอเนอซองค์ อันดับ 2 คือฝรั่งเศส ที่มีเสน่ห์ทางกามารมณ์ ขณะที่ประเทศอังกฤษ เจ้าของภาษา อยู่เพียงอันดับ 7 แต่จำกัดเฉพาะสำเนียงออกซ์ฟอร์ด ที่มีความเป็นชนชั้นสูง ฟังแล้วดูเหมือนผู้พูดเป็นนักวิชาการ

สำหรับประเทศต่างๆ ที่ได้รับการจัดอันดับสำเนียงอังกฤษสุดซ็กซี่ มีดังนี้ 12. อาร์เจตินา 11. ไทย 10. สาธารณรัฐตรินิแดด (ในแคริบเบียนตอนใต้) 9. บราซิล, โปรตุเกส 8. อเมริกาใต้ 7. อังกฤษ (ออกซ์ฟอร์ด) 6. ไอร์แลนด์ 5. ไนจีเรีย 4. สาธารณรัฐเช็ค 3. สเปน 2. ฝรั่งเศส 1. อิตาลี

https://www.myfirstbrain.com/main_view.aspx?ID=83812

Niels Bohr

นีลส์ บอร์ : Niels Bohr

เกิด วันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ.1885 ที่เมืองโคเปนเฮเกน (Copenhagen) ประเทศเดนมาร์ก (Denmark)
เสียชีวิต วันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ.1962 ที่เมืองโคเปนเฮเกน (Copenhagen) ประเทศเดนมาร์ก (Denmark)
ผลงาน – ทฤษฎีธรรมชาติของอะตอม
– ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ จากผลงานทฤษฎีอะตอมแนวใหม่
– ได้รับรางวัลปรมาณูเพื่อสันติภาพ

“ไม่มีใครรู้ว่าถ้าไม่มีนีลส์ บอร์ แล้ว เราจะรู้เกี่ยวกับเรื่องของอะตอมได้อย่างไร” นี้คือคำกล่าวของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
นักฟิสิกส์อันดับหนึ่งของโลกที่กล่าวถึงนักฟิสิกส์ผู้นี้ บอร์เป็นนักฟิสิกส์ที่เปิดเผยความลับของอะตอมผู้ที่อยู่ในยุคเดียวกับอัลเบิร์ต
ไอน์สไตน์ และมีความเป็นอัจฉริยะไม่แพ้กันเลยแม้แต่น้อย อีกทั้งบอร์ยังเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่งที่ทำให้การสร้างระเบิดปรมาณู
ประสบความสำเร็จ สิ่งที่เป็นการยืนยันได้ดีก็คือ รางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ที่เขาไดัรับการจากการค้นพบทฤษฎีอะตอม ในปี ค.ศ.
1922 นั่นเอง

บอร์มีชื่อเต็ม ๆ ว่า นีลส์ เฮนริค เดวิด บอร์ (Niels Henrick David Bohr) เขาเกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ.1885
ที่กรุงโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก บิดาของเขาชื่อว่า คริสเตียน บอร์ (Christian Bohr) เป็นศาสตราจารย์
ทางสรีรวิทยา ที่มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (Copenhagen University) ส่วนมารดาคือ อัลเลน บอร์ (Allen Bohr)
ซึ่งเป็นบุตรสาวของคหบดีที่มั่งคั่งแห่งเมือง การที่บอร์เกิดมาในตระกูลที่มั่งคั่งทำให้บอร์มีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดีมาก หลังจาก
ที่เขาจบการศึกษาเบื้องต้นในปี ค.ศ.1903 บอร์ได้เข้าศึกษาต่อในวิชาฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน หลังจากที่เขาจบการศึกษา
ในระดับปริญญาตรีแล้ว เขาได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ มากมายหลายเรื่อง

โดยบอร์ได้เริ่มการศึกษาค้นคว้าทดลองครั้งแรกในปี ค.ศ.1907 เกี่ยวกับเรื่องความตึงของผิวน้ำ และจากผลงานชิ้นนี้บอร์
ได้รับรางวัลเหรียญทองจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งชาติเดนมาร์ก ต่อมาในปี ค.ศ.1911 เกี่ยวกับเรื่องอิเล็กตรอนของโลหะ เพื่อ
จัดทำเป็นวิทยานิพนธ์สำหรับรับปริญญาเอก ซึ่งเขาก็ประสบความสำเร็จได้รับปริญญาเอกในสาขาวิชาฟิสิกส์สมใจ หลังจากที่
เขาได้รับปริญญาเอกแล้ว บอร์ได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ และได้พบกันเซอร์โจเซฟ จอห์น ทอมป์สัน (Sir Joseph John
Thompson) ทั้งสองยังได้ร่วมมือกันทำการทดลองค้นคว้าในห้องทดลองคาเวนดิช มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปีต่อมาเขาได้
ทำการทดลองค้นคว้าร่วมกับเออร์เนสรัทเธอร์ฟอร์ด ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ในเรื่ององค์ประกอบของอะตอม จำนวนโปรตอน
และอิเล็กตรอนในธาตุแต่ละชนิด และในตารางธาตุทั้งหมดแต่ละอะตอมจะมีจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน
ที่วิ่งโดยรอบ และโปรตอนหนึ่งโปรตอนมีประจุไฟฟ้า ในธาตุในก็ตามแกนกลางของธาตุยังมีจำนวนโปรตอนเหมือนกันทั้งสิ้น และ
จำนวนอะตอมเหล่านี้ เรียกว่า “จำนวนอะตอมของธาตุ” และธาตุที่มีจำนวนอะตอมมากที่สุด คือ ธาตุยูเรเนียม แต่ไม่ทันที่จะก้าวหน้า
ไปมากกว่านี้รัทเธอร์ฟอร์ดก็เสียชีวิตไปก่อนการค้นคว้าครั้งนี้ก็นับว่ามีประโยชน์อย่างมากมหาศาลแล้ว จากนั้นบอร์ได้เดินทาง
กลับบ้านเกิดที่ประเทศเดนมาร์ก พร้อมกับภรรยามากาเร็ต ฮอร์แลนด์ (Magarethe Horland) ที่เพิ่งแต่งงานกันได้ไม่นาน

หลังจากที่บอร์เดินทางถึงบ้านในปี ค.ศ.1913 เขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งอาจารย์วิชาฟิสิกส์ ประจำมหาวิทยาลัยโคเปน
เฮเกน แต่เขาทำงานอยู่ได้ไม่นานก็เดินทางกลับประเทศอังกฤษ และเดินทางกลับประเทศเดนมาร์กอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ.1916
และได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์วิชาฟิสิกส์ประจำมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน และต่อมาในปี ค.ศ.1920 บอร์ได้เลื่อนตำแหน่ง
ให้เป็นผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าทฤษฎีฟิสิกส์ ในมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน นอกจากนี้เขายังได้รับการสนับสนุนด้านการเงิน
ในการค้นคว้าทดลองอีกด้วยในปี ค.ศ.1922 บอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากผลงานทฤษฎีอะตอมแนวใหม่ ซึ่งเป็นพื้นฐาน
ของการค้นคว้าด้านอะตอมในเวลาต่อมา และในปีเดียวกัน เขาได้เผยแพร่ผลงานออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า โครงสร้างของอะตอมและ
การแผ่รังสี (The Theory of Spectra and Atomic Constitution) ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับผลงานการค้นคว้าของเขา
เกี่ยวกับโครงสร้างของอะตอม โดยบอร์ได้อธิบายว่า โครงสร้างของอะตอมก็เช่นเดียวกันกับโครงสร้างของระบบสุริยจักรวาล คือ
ระบบสุริยะมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ส่วนอะตอมมีนิวเคลียสเป็นศูนย์กลาง ส่วนอิเล็กตรอนก็หมุนรอบนิวเคลียส เช่นเดียวกับ
ดาวเคราะห์ที่ต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์ นอกจากนี้บอร์ยังเป็นผู้อธิบายเกี่ยวกับการค้นพบกัมมันตภาพรังสี และทฤษฎีควอนตัม
ซึ่งแมกซ์ แพลงค เป็นผู้ค้นพบ แต่ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนเท่าไรนัก เมื่อบอร์นำมาอธิบายทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

ในปลายปี ค.ศ.1938 บอร์ได้เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อพบกับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ทั้งนี้เขาต้องการปรึกษาหารือ และทำการทดลองเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอมให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งไอน์สไตน์ก็เห็นดีด้วย ทั้งสองจึงร่วมมือกันทำการทดลองขึ้นที่ห้องทดลองในมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน แต่การทดลองของทั้งสองก็เป็นอันยุติลงไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็เป็นโอกาสดีในทางหนึ่งเนื่องจากในเดือนมกราคม ค.ศ.1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้มีนักวิทยาศาสตร์อพยพมาจากยุโรปซึ่งเป็นศูนย์กลางสงคราม เข้ามาในประเทศอเมริกาจำนวนมาก ในระหว่างนี้บอร์ได้ เข้าทำงานในตำแหน่งศาสตราจารย์ฟิสิกส์ ประจำมหาวิทยาลัย
โคลัมเบีย เมืองนิวยอร์ค ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ทำให้บอร์มีโอกาสได้เผยแพร่ผลงานที่เขาเพิ่งค้นพบให้กับนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายได้มีโอกาสได้รับรู้ เกี่ยวกับทฤษฎีการแตกตัวของอะตอม ซึ่งเป็นการแตกตัวของอะตอมของยูเรเนียม ซึ่งทฤษฎีนี้ได้นำไปใช้ในการสร้าง
ระเบิดปรมาณู
เเบบจำลองอะตอมของนีลล์โบร์

ในปี ค.ศ.1940 ภาวะสงครามกำลังตึงเครียดอย่างหนัก แต่บอร์ก็ยังเดินทางกลับบ้านที่ประเทศเดนมาร์กเพื่อเยี่ยมเยียน
ครอบครัว พอดีกับกองทัพนาซีแห่งเยอรมนีได้ยกทัพเข้ายึกประเทศเดนมาร์ก บอร์ต้องใช้เวลานานถึง 3 ปี จึงจะหลบหนีออกจาก
เดนมาร์กมายังประเทศอังกฤษ โดยความช่วยเหลือของนายกรัฐมนตรีอังกฤษในเวลานั้น จากนั้นเขาได้เดินทางต่อไปยังประเทศ
สหรัฐฯ และเมื่อมาถึงเขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาโครงการอะตอมแห่อลาโมร์ รัฐนิวเมกซิโก ต่อมาในปี ค.ศ.1945
ระเบิดปรมาณูลูกแรกได้ทำการทดลองเป็นผลสำเร็จ จากนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตกลงที่จะทิ้งระเบิดลงที่เมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่น
เพื่อเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อบอร์ได้ทราบข่าว เขาได้เดินทางไปยังเมืองนิวยอร์คทันทีเพื่อยุติการกระทำในครั้งนี้
แต่ไม่มีผู้ใดฟังเสียงของเขาเลย แม้ว่าเขาจะพยายามอธิบายถึงผลเสียที่จะมาจากระเบิดปรมาณูแล้วก็ตามและเหตุการณ์ก็เป็นไปตาม
ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรคาดไว้คือระเบิดปรมาณูสามารถทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้ และสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เป็นอันยุติลง แต่ผลเสียที่ตามมา
ก็คือ มีผู้เสียชีวิตจากระเบิดทั้ง 2 ลูกจำนวนมากกว่า 2 แสนคน และเสียชีวิตภายหลังอีกจากโรคมะเร็งกว่า 200,000 คน

หลังจากที่บอร์ประสบความล้มเหลวจากการหยุดยั้งระเบิด เขาได้เดินทางกลับประเทศเดนมาร์ก และได้ดำรงตำแหน่ง
ประธานคณะกรรมการพลังงานปรมาณูแห่งเดนมาร์ก ในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งนี้เขาได้พยายามหยุดยั้งการใช้ระเบิดปรมาณู
เพื่อการทำลายล้างทุกวิธีทาง จนในที่สุดความพยายามของเขาก็สัมฤทธิ์ผล ในปี ค.ศ.1955 การประชุมเรื่องปรมาณู ว่าด้วยเรื่อง
การควบคุมการใช้พลังงานปรมาณูเพื่อสันติและสร้างสรรค์ มิใช่เพื่อการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ด้วยกัน ครั้งแรกเกิดขึ้น ที่กรุงเจนีวา
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และจากความพยายามของบอร์ ในปี ค.ศ.1957 บอร์ได้รับรางวัลปรมาณูเพื่อสันติดภาพ (Atom for
Peace Award) จากหอวิทยาศาสตร์แห่งชาติ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นจำนวนเงิน 75,000 เหรียญ ซึ่งบอร์เป็นบุคคลแรก
ที่ได้รับรางวัลนี้

บอร์ยังคงทำงานของเขาต่อไป ต่อมาเขาได้รับเชิญไปแสดงปาฐกถาในหัวข้อ ความก้าวหน้าของอะตอม จากสถาบันหลายแห่ง
และค้นคว้าอะตอมต่อไป จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ.1962 ที่เมืองโคเปนเฮเกน บอร์ได้สร้างคุณประโยชน์
อย่างมากมายให้กับวงการวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับอะตอม บอร์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องอย่างมาก
จากรัฐบาลเดนมาร์ก และสิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนก็คือ คฤหาสน์อันโอ่อ่าที่มีห้องพักมากถึง 12 ห้อง ซึ่งมูลนิธิคลาสเบิร์ก
(Carlsburg Foundation) ปลูกไว้สำหรับเป็นที่พักของนักปราชญ์ชาวเดนมาร์กได้อยู่จนตลอดชีวิต นอกจากนี้บอร์ยังดำรง
ตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณูของเดนมาร์ก และบอร์ยังได้เป็นผู้ควบคุมการสร้างเครื่องปรมาณูเครื่องแรกของ
เดนมาร์กอีกด้วย